วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2559

ลักษณะของพันธุ์ปลาน้ำจืด

ลักษณะของพันธุ์ปลาน้ำจืด

1.  ปลาดุก
ปลาดุก (อังกฤษ: Walking Catfish) ใช้เรียกปลากลุ่มหนึ่งในสกุล Clarias วงศ์ Clariidae มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วโลก เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น สามารถหายใจบนบกได้ เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร

ปลาดุก เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี

ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย
สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น

ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน
สีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก 


2.  ปลานิล
             ปลานิลสามารถอาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดและน้ำกร่อย มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่ที่ทวีปแอฟริกาพบทั่วไปตามหนอง บึง และทะเลสาบในประเทศซูดาน ยูกันดา แทนแกนยิกา ปลานิลเข้าสู่ประเทศไทยครั้งแรกโดยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศมกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทรงจัดส่งเข้ามาทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จำนวน 50 ตัว ครั้งนั้นได้ทรงโปรดเกล้า ให้ทดลองเลี้ยงปลานิลในบ่อสวนจิตรลดา เป็นหนึ่งโครงการในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
            เป็นรูปร่างคล้ายปลาหมอเทศ แตกกันที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกันไป บริเวณครีบหลัง ครีบก้นและลำตัวมีสีเขียวปนน้ำตาล มีลายดำพาดขวางตามลำตัว มีความยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร



3.  ปลาทับทิม
            ปลาทับทิม หรือ ปลานิลแดง เป็นปลาที่ผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลานิลและปลาหมอเทศ อีกนัยหนึ่งหมายถึงสายพันธุ์หนึ่งของปลานิลที่มีสีแดงอ่อน (ปลานิลจิตรลดา)
            ปลาทับทิม เป็นปลาที่สามารถเลี้ยงในเชิงเศรษฐกิจได้ เนื่องจากปลาทับทิมเป็นปลาเนื้อที่มีคุณภาพสูง รสชาติดี และเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ลูกพันธุ์ปลาทับทิมยังมีราคาไม่แพงและสามารถหาซื้อลูกปลาทับทิมมาเลี้ยงได้ไม่ยาก



4.  ปลาไน
            เป็นปลาที่มีรูปร่างป้อม แบนข้างเล็กน้อย ส่วนหัวลาด ปากมีขนาดเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ครีบหลังค่อนข้างยาว ครีบหางเป็นเว้าแฉกลึก สีลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำอมทองหรือน้ำตาลอ่อน ท้องสีจาง บางตัวอาจมีสีสัน ปลาตัวผู้ในฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นบริเวณใบหน้า และครีบอก ผสมพันธุ์และวางไข่ได้ทุกฤดูโดยวางติดกับพืชน้ำปลาไนมีขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร หนักกว่า 6 กิโลกรัม และสามารถวางไข่ได้ถึง 1 แสนฟอง ชอบอาศัยรวมเป็นฝูงในแหล่งน้ำไหลเชี่ยว และสามารถปรับตัวได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ แต่จะไม่วางไข่ในแหล่งน้ำนิ่ง เป็นปลาพื้นเมืองของประเทศจีนตะวันตกและภูมิภาคยุโรปตะวันออก ปลาไนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า หลีฮื้อ (ในภาษาไทยเรียกรวมกับปลาชนิดอื่นที่มีความใกล้เคียงกันว่า ปลาจีน) นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด จัดเป็นปลาที่มีรสชาติดี เนื้อนุ่ม อร่อย และมีราคาแพง แต่ในบางภูมิภาค 



5.  ปลายี่สก
            ลักษณะรูปร่างปลายี่สกมีลักษณะเด่นคือ สีของลำตัวเป็นสีเหลืองนวล ลำตัวค่อนข้างกลมและยาว บริเวรด้านข้างมีแถบสีดำข้างละ 7 แถบ พาดไปตามความยาวของลำตัว ลายตามตัวเหล่านี้จะปรากฏในลูกปลาที่มีขนาด 3-50 นิ้ว บริเวณหัวมีสีเหลืองแกมเขียว ริมปากบนมีหนวดสั้น ๆ 1 คู่ มีฟันที่คอหอยเพียงแถวเดียว จำนวน 4 ซี่ เวลากินอาหารทำปากยืดหดได้ เยื่อม่านตามเป็นสีแดงเรื่อ ๆ ครีบหลัง ครีบหู ครีบท้อง ครีบก้น มีสีชมพูแทรกอยู่กับพื้นครีบ ซึ่งเป็นสีเทาอ่อน หางค่อนข้างใหญ่และเว้าลึก ปลายี่สกเป็นปลาขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในจำนวนปลาน้ำจืดด้วยกันพบในจังหวัดกาญจบุรี ขนาดใหญ่ที่สุดยาว 1.35 เมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น